วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ภาชนะที่ใช้เลี้ยง

ภาชนะที่ใช้เลี้ยง
  ในการเลี้ยงปลาทองให้สุขภาพแข็งแรง และมีสีสันสดใส จำเป็นต้องใส่ใจรายละเอียดตั้งแต่สถานที่เลี้ยง และภาชนะที่ใช้เลี้ยง โดยทั่วไปนิยมเลี้ยงในตู้กระจกใส และอ่างซีเมนต์ หากเลี้ยงในตู้กระจกควรเลือกขนาดที่มีความจุของน้ำอย่างน้อย 40 ลิตร ใช้เลี้ยงปลาทองได้ 12 ตัว แต่ถ้าเลี้ยงในอ่างซีเมนต์ ต้องคำนึงถึงแสงสว่าง ควรเป็นสถานที่ไม่อับแสง และแสงไม่จ้าจนเกินไป ทั้งนี้ ควรใช้ตาข่ายพรางแสง ประมาณ 60% ปิดปากบ่อ ส่วนสภาพของบ่อเลี้ยงควรสร้างให้ลาดเอียง เพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนถ่ายน้ำ 
การให้อาหาร

          แนะนำว่าควรให้อาหารสำเร็จรูป วันละ 1-2 ครั้ง โดยการให้แต่ละครั้งไม่ควรมากจนเกินไป เพราะจะทำให้ปลาทองอ้วน และเสี่ยงตายได้ เนื่องจากปลาทองค่อนข้างกินจุ ดังนั้นอย่าตามใจปากปลาทอง ส่วนอาหารเสริมอย่างลูกน้ำและหนอนแดง สามารถให้เสริมได้โดยดูความอ้วนและความแข็งแรงของตัวปลา ลักษณะปลาที่ตัวใหญ่หรืออ้วน สังเกตได้จากบริเวณโคนหางจะใหญ่แข็งแรงและมีความสมดุลกับตัวปลา และเมื่อมองจากมุมด้านบนจะสังเกตเห็นความกว้างของลำตัวอ้วนหนาและบึกบึน ขณะที่สีบนตัวปลาจะต้องมีสีสดเข้ม 
คุณภาพของน้ำ

          น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด น้ำประปาที่ใช้เลี้ยงต้องระวังคลอรีน ควรเตรียมน้ำก่อนนำมาใช้เลี้ยงปลาทุกครั้ง โดยเปิดน้ำใส่ถังเปิดฝาวางตากแดดทิ้งไว้เพื่อให้คลอรีนระเหย หรืออาจติดตั้งเครื่องกรองน้ำใช้สารเคมีโซเดียมไธโอซัลเฟตละลายลงในน้ำ มีคุณสมบัติในการกำจัดคลอรีน แต่ควรดูสัดส่วนในการใช้ เพราะสารเคมีพวกนี้มีผลข้างเคียงต่อปลาหากใช้ไม่ถูกวิธี  
อากาศหรือออกซิเจนในน้ำ 

          ปลาทองส่วนใหญ่เคยชินกับสภาพน้ำที่ต้องมีออกซินเจน ดังนั้น อย่างน้อยในภาชนะเลี้ยงต้องมีการหมุนเวียนเบา ๆ ไม่ว่าจะผ่านระบบกรองน้ำ น้ำพุ น้ำตก หรือปั๊มน้ำ เพราะการหมุนเวียนของน้ำ เป็นการทำให้เกิดการเติมออกซิเจน และปลาทองขนาดใหญ่ย่อมต้องการออกซิเจนมากกว่าปลาเล็ก ส่วนเรื่องอุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมคือ 28-35 องศาเซลเซียส แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการรักษาอุณหภูมิของน้ำไม่ให้เปลี่ยนแปลงขึ้น-ลงอย่างรวดเร็ว หากซื้อปลาบรรจุถุงมา เวลาจะปล่อยปลาลงในอ่างเลี้ยง ควรแช่ถุงลงในอ่างเลี้ยง 10-15 นาที เพื่อให้อุณหภูมิของน้ำในถุงกับในอ่างถ่ายเทเข้าหากันจนใกล้เคียงกัน แล้วค่อยปล่อยปลาลงไป

แนะวิธีเลี้ยงปลาทองอย่างถูกต้อง





แนะวิธีเลี้ยงปลาทองอย่างถูกต้อ




เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
 
          ปลาทอง เป็นปลาสวยงามอันดับต้น ๆ ที่ได้รับความนิยมเลี้ยงกันอย่างกว้างขวาง เพราะสวยงามและดูมีชีวิตชีวา แถมชื่อยังเป็นมงคลอีกด้วย นักเลี้ยงปลาทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่น จึงเลือกเลี้ยงเจ้าปลาชนิดนี้ไว้ดูเล่นกันเป็นจำนวนมาก 

          แม้ว่าปลาทอง จะเป็นปลาสวยงามที่เลี้ยงไม่ยาก แต่หลายต่อหลายคนก็อกหักจากการเลี้ยงปลาทองมาแล้วไม่น้อย เนื่องจากปลาทองจัดเป็นปลาที่ตายได้ง่าย ๆ หากไม่รู้วิธีการเลี้ยงอย่างถูกต้อง และวันนี้เรามีคำแนะนำดี ๆ ในการเลี้ยงมาฝากกัน

          ก่อนอื่นมาทำความรู้จักปลาทองที่ได้รับความนิยมเลี้ยงในไทย แบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์คือ  

          1.ปลาทองพันธุ์หัวสิงห์ มีลักษณะเด่นบริเวณหัว ที่จะมีก้อนเนื้อหุ้มอยู่คล้ายสวมหัวโขน
 
          2.ปลาทองพันธุ์ออรันดา ลำตัวค่อนข้างยาว ครีบหางอ่อนช้อยเป็นพวงสวยงาม

การเติมน้ำลงไปในตู้ปลา

การเติมน้ำลงไปในตู้ปลา

ก่อนจะเติมน้ำลงไปในตู้ปลา ข้อควรระวังคืออย่าเทน้ำลงไปในตู้ปลาตรงๆ ควรหาภาชนะรองรับเช่น ผ้าพลาสติกอ่อนคลุ่มพื้นตู้หรือเอาจานชามแบนๆ ไปวางไว้ก้นตู้ เพื่อลดความแรงของน้ำกันไม่ให้กรวดกระจาย ถ้าหาไม่ได้ก็ใช้มือของเรารองรับน้ำเอาไว้ผยุงให้ความแรงน้อยลง การเติมน้ำเข้าตู้ปลาในครั้งแรกเราจะเติมเพียงครึ่งตู้ เพื่อความสะดวกในการจัดตบแต่งตู้ปลา การเติมน้ำในครั้งแรกจะเห็นว่ามีตะกอนหรือคราบสกปรกจากทรายหรือหิน ควรถ่ายทิ้งแล้วเติมน้ำใหม่ลงไป ถ้าต้องการจะตกแต่งด้วยพรรณไม้น้ำก็ให้ทำในขั้นตอนนี้ แต่ควรทราบไว้อย่างหนึ่งว่า ปลาทองส่วนใหญ่ชอบกัดทำลายพืชน้ำเพราะเป็นสัตว์กินพืช หากต้องการให้ภูมิทัศน์ในตู้ปลาทองมีสีสันของพรรณไม้น้ำขอแนะนำว่าควรใช้ต้นไม้น้ำประดิษฐ์แทน หลังจากตกแต่งด้วยพรรณไม้น้ำแล้วหากน้ำยังขุ่นอยู่มากก็ถ่ายออกแล้วเติมน้ำใหม่ลงไป

หลักเบื้องต้นในการจัดตู้เลี้ยงปลาทอง

หลักเบื้องต้นในการจัดตู้เลี้ยงปลาทอง

จัดหาที่วางตู้ปลาทองให้เรียบร้อย โดยพื้นที่จะวางควรมีพื้นที่ราบเรียบเมื่อวางตู้ปลาแล้วไม่โยกคลอน ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้ตู้ปลาแตกร้าวเสียหายได้ มุมที่จัดวางก็ควรจะมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่ร้อนจนเกินไป และควรอยู่ในมุมที่สงบไม่มีใครไปรบกวน แต่ก็ควรอยู่ในมุมที่เรามองเห็นปลาทองได้อย่างชัดเจน สำหรับภาพวิวด้านหลังหากคุณต้องการติดก็ควรติดให้เรียบร้อยตั้งแต่ขั้นตอนนี้ แต่หากตู้ปลาไม่ได้วางติดหรือชิดผนังก็อาจจะติดภายหลังก็ได้
ในกรณีที่คุณใช้แผ่นกรองใต้พื้นทราย จะต้องทำความสะอาดแผ่นกรองเสียก่อน เนื่องจากแผ่นกรองทำด้วยพลาสติกที่ใช้สารเคมีในขบวนการผลิต ถ้าไม่ล้างออกให้หมดอาจเป็นอันตรายต่อปลาทอง

วิธีกำจัดสารคลอรีนในน้ำประปา

      

         วิธีกำจัดสารคลอรีนในน้ำประปา
การกำจัดสารคลอรีนในน้ำประปาสามารถทำได้หลายวิธี เช่น เอาน้ำประปาไปพักไว้ในภาชนะสำหรับกักเก็บน้ำ เช่น ตุ่ม ถัง หรือแม้แต่ตู้ที่จะเลี้ยง ปลาเป็นเวลาประมาณ 1-2 วัน เพื่อให้คลอรีนระเหยไปจนหมด ระหว่างการพักน้ำหากเป่าอากาศลงไปด้วยก็จะช่วงเร่งคลอรีนให้ระเหยเร็วยิ่งขึ้น
วิธีกำจัดคลอรีนออกจากน้ำประปาที่สะดวกที่สุดก็คือ เปิดน้ำประปาผ่านเข้าไปในเครื่องกรองน้ำแล้วเอาน้ำที่ออกมาไปใช้เลี้ยงปลาได้เลย เนื่องจากเครื่องกรองน้ำมีผงถ่านคาร์บอน (Activated carbon) ซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดซับคลอรีน สี และ กลิ่นต่างๆ ที่ละลายอยู่ในน้ำ ทำให้น้ำที่ออกมาใสสะอาดปราศจากสีและกลิ่น
การกำจัดคลอรีนออกจากน้ำประปาอีกวิธีหนึ่งคือ การใช้สารกำจัดคลอรีน สารที่มีว่านี้มีชื่อทางเคมีว่า "โซเดียมไธโอซัลเฟต" (soudiumthio-sulfate) มีขายอยู่ทั่วไปตามร้านขายอุปกรณ์ปลาสวยงาม การใช้สารกำจัดคลอรีนต้องทำตามคำแนะนำในฉลากข้างภาชนะบรรจุโดยเคร่งครัด ถ้าใช้มากเกินไปตัวสารกำจัดคลอรีนเองจะกลับมาเป็นอันตรายต่อปลาทองที่ปล่อยลงไปเลี้ยงได้                                                   



















                  วิธีกำจัดสารคลอรีนในน้ำประปา
การกำจัดสารคลอรีนในน้ำประปาสามารถทำได้หลายวิธี เช่น เอาน้ำประปาไปพักไว้ในภาชนะสำหรับกักเก็บน้ำ เช่น ตุ่ม ถัง หรือแม้แต่ตู้ที่จะเลี้ยง ปลาเป็นเวลาประมาณ 1-2 วัน เพื่อให้คลอรีนระเหยไปจนหมด ระหว่างการพักน้ำหากเป่าอากาศลงไปด้วยก็จะช่วงเร่งคลอรีนให้ระเหยเร็วยิ่งขึ้น
วิธีกำจัดคลอรีนออกจากน้ำประปาที่สะดวกที่สุดก็คือ เปิดน้ำประปาผ่านเข้าไปในเครื่องกรองน้ำแล้วเอาน้ำที่ออกมาไปใช้เลี้ยงปลาได้เลย เนื่องจากเครื่องกรองน้ำมีผงถ่านคาร์บอน (Activated carbon) ซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดซับคลอรีน สี และ กลิ่นต่างๆ ที่ละลายอยู่ในน้ำ ทำให้น้ำที่ออกมาใสสะอาดปราศจากสีและกลิ่น
การกำจัดคลอรีนออกจากน้ำประปาอีกวิธีหนึ่งคือ การใช้สารกำจัดคลอรีน สารที่มีว่านี้มีชื่อทางเคมีว่า "โซเดียมไธโอซัลเฟต" (soudiumthio-sulfate) มีขายอยู่ทั่วไปตามร้านขายอุปกรณ์ปลาสวยงาม การใช้สารกำจัดคลอรีนต้องทำตามคำแนะนำในฉลากข้างภาชนะบรรจุโดยเคร่งครัด ถ้าใช้มากเกินไปตัวสารกำจัดคลอรีนเองจะกลับมาเป็นอันตรายต่อปลาทองที่ปล่อยลงไปเลี้ยงได้                                                   

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ของตกแต่งภายในตู้ปลา

ของตกแต่งภายในตู้ปลา


สดุตกแต่งอื่นๆ เพื่อให้ตู้ปลาทองของเราดูสวยงาม และเป็นธรรมชาติที่สุด โดยวัสดุเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็ประกอบด้วย ต้นไม้น้ำ ขอนไม้ หิน กรวด ทราย และอื่นๆ ที่เราเห็นว่าเหมาะสมและสวยงามสำหรับตู้ปลาทองของเรา
อุปกรณ์สำหรับตกแต่งตู้เลี้ยงปลาทอง เราต้องเลือกวัสดุที่ไม่มีเหลี่ยมคมไม่ว่าจะเป็นก้อนหิน หรือขอนไม้ และที่ไม่ควรใช้อย่างยิ่งคือ ปะการัง ซึ่งมีแง่แหลมคมมากมายเป็นอันตรายอย่างมากต่อปลาทอง อุปกรณ์ตกแต่งทุกชิ้นจะต้องผ่านการล้างทำความสะอาดเสียก่อนจึงค่อยนำไปใช้

จัดเตรียมอุปกรณ์ก่อนเลี้ยงปลาทอง

จัดเตรียมอุปกรณ์ก่อนเลี้ยงปลาทอง



เริ่มต้นจากการจัดเตรียมตู้ปลาทอง
สำหรับตู้ปลาที่มีขายอยู่ทั่วไปตามร้านขายอุปกรณ์ปลาสวยงาม จะมีให้เลือกหลายแบบหลายขนาด ทั้งราคาถูกและราคาแพง ทั้งแบบที่เป็นกระจกและแบบอะคริลิค ตู้กระจกจะมีข้อดีตรงที่ไม่เป็นรอยขีดข่วนง่ายเวลาทำความสะอาด แต่มีข้อเสียตรงที่มีน้ำหนักมาก เคลื่อนย้ายลำบาก และมีรอยต่อตรงมุมตู้ ส่วนตู้อะคริลิคจะมีข้อดีตรงที่มีความใสมากกว่าแผ่นกระจก ไม่มีรอยต่อตรงมุมตู้น้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่น แต่มีข้อเสียที่ราคาแพง เกิดรอยขีดข่วนง่าย และถ้าเป็นอะคริลิกคุณภาพต่ำเมื่อใช้ไปนานๆ  จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองชา เราต้องเลือกขนาดให้เหมาะสมกับจำนวนปลาทองที่เราจะเลี้ยงด้วย
อุปกรณ์อีกอย่างที่เราควรจะหาเตรียมมาพร้อมกันด้วยก็คือ ฝาครอบตู้ปลาและหลอดไฟที่ให้แสงสว่าง หลอดไฟที่ให้แสงสว่างในตู้ปลาที่นิยมกันมากจะเป็นหลอดแบบฟลูออเรสเซนท์ ซึ่งจะมีหลายขนาด ทั้งความยาวของหลอดและกำลังไฟ นอกจากนั้นก็ยังมีหลอดแบบเมตัล เฮไลด์ หลอดฮาโลเจน ( Halogen Lamp) หลอดเมอร์คิวรี่ แวเปอร์ ( Mercury vapour ) ซึ่งหลอดไฟทั้งหมดที่กล่าวมา จะทำหน้าที่หลักในการช่วยต้นไม้น้ำในการสังเคราะห์แสง และทำให้อุณหภูมิของน้ำในตู้ปลาไม่เย็นมากเกินไปด้วย
ต่อไปก็จะต้องหาระบบกรอง สำหรับระบบกรองของตู้ปลาสวยงามก็มีหลายแบบอีกเช่นกัน เลือกให้เหมาะสมกับตู้ที่เราซื้อมา โดยจะแบ่งออกเป็นสองชนิดหลักๆ คือแบบกรองในตู้ และแบบกรองนอกตู้ โดยระบบกรองที่จะใช้ควรมีความเหมาะสมกับขนาดของตู้ปลาด้วย นั่นคือต้องไม่ใหญ่และเล็กเกินไป
เมื่อเราได้อุปกรณ์ทั้งหมดมาแล้ว ก็เริ่มต้นจากตู้ปลาจะต้องล้างทำความสะอาดแล้วใส่น้ำแช่ทิ้งไว้ 2-3 วัน ระหว่างที่แช่น้ำไว้ควรตรวจสอบดูว่ามีการรั่วซึมที่ใดบ้างหรือเปล่า ถ้ามีก็จัดการเปลี่ยนกับทางร้านที่ซื้อมา หรือว่าทำการซ่อมแซมให้เรียบร้อยเสียก่อน หลังจากนั้นถ่ายน้ำที่แช่ไว้ออกให้หมด เช็ดให้แห้งแล้วนำไปวางเข้าที่ที่เตรียมเอาไว้ การเคลื่อนย้ายตู้ปลาควรใช้มือช้อนเข้าไปก้นตู้แล้วยก อย่าจับขอบด้านบนแล้วยกเป็นอันขาด เพราะจะทำให้แผ่นกระจกด้านข้างโย้ไปมาจนกาวยึดรอยต่อเกิดการรั่วซึมหรือฉีกขาดขึ้นมาได้